วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หลินจือเห็ดมหัศจรรย์

เห็ดหลินจือ จัดเป็นเห็ดกระด้างที่มีโครงสร้างคล้ายเนื้อไม้ พบอยู่ทั่วไปตามต้นไม้ผุที่มีความชื้นสูงพอสมควร เห็ดจือเป็นที่รู้จักกันอย่างดีในหมู่คนจีนมานาน นับเป็นพันปีมาแล้ว เห็ดหลินจือมีชื่อดั้งเดิมในประเทศจีนว่า หญ้านางฟ้า เป็นเห็ดที่มีคุณภาพสูงในการใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรค การแพทย์แผนปัจจุบันพิสูจน์แล้วว่า เห็ดหลินจือมีผลต่อการบรรเทาโรคบางชนิด เช่น ทางสมอง หัวใจ ทางเดินหายใจ หลอดลม กระเพาะลำไส้ หืดหอบ เป็นต้น และมีผลงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าธาตุอาหารที่หายากชนิดหนึ่ง คือ Germanium (GE) ที่มีอยู่ในเห็ดหลินจือ เป็นธาตุอาหารที่สำคัญมากต่อมนุษย์ มีคุณสมบัติในทางช่วยเร่งเมตตาโบลิซึมของร่างกาย ทำให้แก่ช้าลงและยังมี Polysaccharide บางชนิดซึ่งช่วยเสริมสร้างความต้านทานโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคมะเร็ง

ลักษณะทั่วไปของเห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือเป็นเชื้อราชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ตามต้นไม้ที่เน่าเปื่อย ผุพัง พบอยู่ทั่วไป ระดับความสูงตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนำระทั่งสูงกว่า 1,000 เมตร อุณหภูมิระหว่าง 8 – 38 องศาเซลเซียส ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส เส้นใยและดอกยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้แต่ไม่เจริญเติบโต เมื่ออากาศเริ่มอุ่นขึ้นก็สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ เห็ดหลินจือมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามภาษาเรียก ประเทศจีนเรียกว่า หลิงชิง หรือหลินจือ แปลว่า สุดยอดของต้นไม้วิเศษ สำหรับประเทศไทยเรียกว่า เห็ดกระด้าง เห็ดหั้งขอ เห็ดนางกวัก เห็ดแม่เบี้ยงูเห่า เห็ดจวักงู เห็ดมะพร้าว แล้วยังแบ่งแยกไปตามชนิดของเห็ด ได้แก่

ดอกสีเขียว เรียกว่า ชิงจือ มีรสชาติขมเล็กน้อย มักพบในบริเวณที่มีอากาศหนาวเย็นใช้ในการรักษาโรคหัวใจ

ดอกสีแดง เรียกว่า ฉื้อจือหรือต้นจืน มีรสขม ใช้เป็นยาแก้การแน่นหน้าอก เลือดตกค้าง บำรุงหัวใจ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้เรื้อรัง ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อม โรคเบาหวาน

ดอกสีเหลือง เรียกว่า หวงจือหรือจีนจือ มีรสชาติหวานจืด มีสรรพคุณในการบำรุงประสาท บำรุงร่างกาย ระบบขับถ่ายให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น

ดอกสีขาว เรียกว่า ไป่จือหรือวีจือ มีรสชาติฉุน ขมเล็กน้อย มีสรรพคุณในการแก้โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ปอด จมูก ทำให้หายใจคล่อง

ดอกสีดำ เรียกว่า เฮจือหรือเสียนจือ มีรสชาติเค็มเล็กน้อยไม่ขม มีสรรพคุณในการขับน้ำตกค้างในร่างกาย บำรุงไต ขับปัสสาวะ

ดอกสีม่วง เรียกว่า จื่อจือหรือสีซ๊อคโกแลต มีรสชาติขมเล็กน้อย มีสรรพคุณรักษาโรคไขข้ออักเสบ หูอักเสบ

คุณสมบัติทางยาของเห็ดหลินจือ

คุณสมบัติที่น่าสนใจ คือ คุณสมบัติในด้านการบำรุงร่างกายและทางยาเท่านั้นเพราะตัวของเห็ดเองมีลักษณะแข็งแบบเนื้อไม้ ไม่มีกลิ่น บางชนิดยังมีรสขม หวานหรือเปรี้ยว หรือไม่มีรส ชาวจีนนับว่าเป็นชาติแรกที่รู้จักวิธีการใช้เห็ดหลินจือเป็นยาอายุวัฒนะ ป้องกันและรักษาโรคมากมายหลายชนิด

ปัจจุบันได้มีการวิจัยทางคุณสมบัติของเห็ดหลินจือ พบว่า เห็ดหลินจือมีสารประกอบหลายชนิดที่มีคุณสมบัติทางยา อาทิเช่น
สาร Ganoderic & Lucidic Acid (Polysaecharideof Pentose) สารชนิดนี้เป็นสารที่มีโมเลกุลใหญ่ของน้ำตาลแพนโตส มีรสขม เป็นสารที่มีอยู่ในเห็ดหลินจือ และเห็ดทั่วไป มีส่วนกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารอินเตอร์เฟรอน สารชนิดนี้จะไปกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันการเข้าทำลายเนื้องอก หรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกยางชนิดได้ รวมทั้งโรคไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่

เนื่องจากสาร Ganoderic & Lucidic Acid (Polysaecharideof Pentose เป็นสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ร่างกายนำเอาไปใช้ลำบาก แต่สารแดสคอร์บิก แอซิด หรือวิตามินซี จะช่วยลดขนาดของสาร Ganoderic & Lucidic Acid ลงทำให้ร่างกายดูดเอาไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นในการรับประทานนิยมใส่วิตามินซีเข้าไปในปริมาณ 100 มิลลิกรัม ต่อ เห็ด 5 – 10 กรัม

สารอิริตาดีนีน (Eritadenine)สารชนิดนี้มีอยู่ในเห็ดต่าง ๆ ทั่วไปแต่มีอยู่ในเห็ดหลินจือกับเห็ดฟางเป็นจำนวนมาก สารอิริตาดินีน มีคุณสมบัติในการละลายไขมันในเส้นเลือด

สารเจอมาเนียม Gemanium (Ge) เป็นสารที่สำคัญที่สุดที่มีอยู่ในโสมราคาแพง เป็นสารที่ช่วยบำรุงร่างกาย ทำให้ระบบเลือดหมุนเวียนได้สะดวก ทำให้เม็ดเลือดแดงดูดซึมเอากาซออกซิเจน อย่างมีประสิทธิ ช่วยสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย ช่วยให้หายจากการอ่อนเพลียได้เร็ว บำรุงประสาท ไม่เครียดง่าย เป็นยาอายุวัฒนะ ปริมาณของสารมาเนียในเห็ด หลินจือจะมีสารเจอมาเนียอยู่ระหว่าง 800 – 2,000 ส่วนในล้านมีมากกว่าในโสมหลายเท่า

อ้างอิง : http://irrigation.rid.go.th/rid1/HongKhrai/linjuee.htm

--------------------



โรคไต เป็นโรคที่หลายๆ คนคิดว่าไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากกว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ก็เมื่ออาการเริ่มหนักแล้ว ดังนั้น ทางที่ดีการไปตรวจร่างกายเป็นประจำจะช่วยให้เราทราบได้ว่าเราเป็นโรคไตหรือไม่ หากเป็นในระยะเริ่มแรกนั้นก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ไม่ยาก โรคไตมีหลายชนิดด้วยกันไม่ว่าจะเป็นโรคไตที่เกิดกับเด็ก โรคไตที่เกิดจากโรคเบาหวาน และอีกหลายชนิดรวมทั้งโรคไตเรื้อรังชนิดเนฟโฟรสิสด้วย

ทั้งนี้ นักวิจัยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)พบว่าสมุนไพรเห็ดหลินจือ ช่วยลดอาการไข่ขาวรั่วในปัสสาวะของผู้ป่วยโรคไตได้ นับว่าเป็นอีกหนทางหนึ่งในการรักษาป้องกันผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะไตวายได้เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องทรมานและยังเป็นการลดภาระค่ารักษาอีกด้วย

รศ.พญ.ดร.นริสา ฟูตระกูล ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงผลงานวิจัยว่า จากอดีตจนถึงปัจจุบันหนทางการรักษาที่ดีที่สุดทำได้แค่ชะลอความตายของเนื้อไตให้ช้าลงด้วยการใช้ยาประเภทกดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตีย ลอยด์ เนื่องจากมีความเชื่อว่าอาการที่พบนี้เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ แต่ยาประเภทนี้สามารถลดภาวะอาการไข่ขาวรั่วในปัสสาวะผู้ป่วยได้บางกลุ่มเท่านั้น

ทั้งนี้ การนำเห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum) มาวิจัยเพื่อประยุกต์แก้ปัญหาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเนฟโฟรสิสชนิด focal segmentel sclerosis (FSGS) ซึ่งแต่เดิมจะใช้ยากดภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีข้อเสียที่ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน จึงหาทางเลือกใหม่ที่ปลอดภัยกว่า ซึ่งจากการค้นคว้าตำรับยาโบราณและเอกสารการวิจัยอ้างว่า เห็ดหลินจือ มีบทบาทเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันจึงได้นำมาวิจัย

กล่าวคือ นำตัวยาสกัดเห็ดหลินจือใช้ร่วมกับยาขยายหลอดเลือด กับผู้ป่วยไตเรื้อรังที่มีอาการไข่ขาวรั่วในปัสสาวะต่อเนื่องมานาน 5-10 ปี ซึ่งกำลังอยู่ในภาวะไตเสื่อมถอยลงอย่างช้าๆ ผลที่ได้หลังจากให้ยาประมาณ1ปี พบว่าผู้ป่วยหลังจากได้รับยาขยายหลอดเลือดและสมุนไพรร่วมกัน ไตมีการทำงานดีขึ้น ปริมาณเลือดที่หล่อเลี้ยงไตเพิ่มขึ้น สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือมีภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะลดลง ซึ่งนับว่าเป็นการรักษาที่สามารถฟื้นฟูสมรรถภาพของไตให้ดีขึ้นกว่าเดิม แตกต่างไปจากการรักษาทั่วไป ที่ทำได้ดีที่สุดแค่ชะลอการตายของเนื้อไตให้ช้าลงเท่านั้น

“โรคไตเรื้อรังเนฟโฟรสิสชนิด FSGS คือกลุ่มผู้ป่วยโรคไตที่มีอาการบวม โดยจะพบภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะออกมามากเกินปริมาณมากกว่าประมาณ3.5กรัม/วัน เป็นภาวะที่ร่างกายสูญเสียโปรตีนเมื่อไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะมากๆก็จะทำให้โปรตีนในเลือดต่ำ เลือดในร่างกายจะพร่อง ข้นหนืด การหมุนเวียนในเลือดก็ไม่เพียงพอก่อให้เกิดการอุดตัน และยังมีภาวะเมตาบอลิกของไขมันผิดปกติ ไขมันในเลือดสูง จะทำให้ไตมีการอักเสบ เสื่อมและถูกทำลายเข้าสู่ภาวะไตวายในที่สุด”

“สำหรับยาที่สกัดจากเห็ดหลินจือที่ใช้รักษาโรคไตเรื้อรังนั้น ยังไม่มีวางขาย แต่หากจะซื้อยาที่สกัดจากเห็ดหลินจือเพื่อเป็นการบำรุงก็สามารถหารับประทานได้ แต่เพื่อการรักษานั้นต้องดูที่ปริมาณสารที่สกัดว่ามีส่วนผสมที่เท่ากันกับที่วิจัยหรือไม่ก่อน”

ส่วนงานวิจัยที่กำลังศึกษาต่อไป คือการศึกษากลไกการทำลายไตในโรคไตเรื้อรังชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะกลุ่มไตอักเสบจากเบากวาน ที่เป็นเหตุสำคัญอันดับหนึ่งของภาวะไตวายเรื้อรั้งขั้นสุดท้าย และดัชนีความผิดปกติของโรคแต่เนิ่น จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น